บริจาคช่วยเหลือน้ำท่วม ทำดีแล้วยังลดภาษีได้ด้วยนะ


flood2


น้ำท่วม 2567 ยังคงเป็นประเด็นร้อนแรงที่หลายฝ่ายกำลังช่วยกันแก้ไข ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทั้งเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ เพชรบูรณ์ ซึ่งตอนนี้ก็มีการเปิดรับบริจาคกันในหลายช่องทาง

ในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย การช่วยเหลือผู้ประสบภัยผ่านการบริจาคเป็นวิธีหนึ่งที่หลายองค์กรภาครัฐและเอกชนเปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธามีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริจาคเงินผ่านมูลนิธิหรือหน่วยงานที่เปิดรับสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 

สำหรับใครที่อาจจะไม่สะดวกเข้าพื้นที่ไปบริจาคน้ำท่วม 2567  หรืออยู่ไกลจากจุดรับบริจาคสิ่งของแต่มีจิตศรัทธาอยากช่วยเหลือ วันนี้ ByteHR ได้รวมเลขบัญชีองค์กรรับบริจาคอย่างเป็นทางการเพื่อให้ทุกคนได้เลือกบริจาคกันตามสะดวก

1.ศูนย์ประสานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สำนักงานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 

บัญชีธนาคารกรุงไทย เลขที่ 026-0-27103-9 ชื่อบัญชี วัดพระเชตุพน (การสาธารณสงเคราะห์) โทรศัพท์ 0-2222-7831 (อ้างอิง: สำนักงานพระพุทธฯ)


2. มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย 

บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ กระแสรายวันเลขที่บัญชี 020-3-04545-1 หรือสแกน QR Code E-Donation บริจาคผ่านระบบ Mobile Banking ได้ทุกธนาคาร โดยใบเสร็จสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02-054-6546 (อ้างอิง: มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ))


3. สภากาชาดไทย

บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทย เพื่อภัยพิบัติ” ประเภทบัญชี “กระแสรายวัน” เลขที่บัญชี 045-3-04637-0

กรณีการโอนเงิน - หากประสงค์รับใบเสร็จรับเงิน แจ้งชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประชาชน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล ระบุ “เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” พร้อมแนบสลิปการโอนเงินบริจาค มาทาง e-mail : donation@redcross.or.th หรือ โทรสาร 0 2250 0312 หรือ Line : @redcrossfund หรือสแกน QR Code e-Donation ที่ปรากฏบนโพสต์ โดยไม่ต้องแจ้งขอรับใบเสร็จรับเงินและไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินในนามบุคคลอื่นได้ จะต้องเป็นชื่อผู้ที่เป็นเจ้าของบัญชีเท่านั้น (อ้างอิง: ThaiRedCrossSociety)


4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เลขที่บัญชี 667-260962-6 และส่งสลิปการโอนเงินได้ที่ Facebook Page : มูลนิธิพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ Line ID : foundation.cmu

ข้อมูลการบริจาคจะส่งไปที่กรมสรรพากรโดยตรงเพื่อลดหย่อนภาษีไม่ต้องใช้ใบเสร็จรับเงิน ทุกการบริจาคสามารถลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 053-943-499


5. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บัญชี 430-190804-4 ชื่อบัญชี “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยช่วยผู้ประสบอุทกภัย จังหวัดน่าน” ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0-2218-0087 (อ้างอิง: chula.ac.th)


6. ที่ว่าการอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

บัญชี “กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อ.เทิง” ธนาคาร ธ.ก.ส. เลขที่บัญชี 020235355766 (อ้างอิง: เพจเชียงราย)


7. มูลนิธิกระจกเงา 

เลขที่บัญชี 202-258298-3 ธ.ไทยพาณิชย์ (อ้างอิง: Mirrorf


8. มูลนิธิเพชรเกษมน่าน

ธนาคารกสิกรไทย "เลขที่บัญชี 137-1-22257-6" และ บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ "เลขที่บัญชี 732-3-008412" ในชื่อบัญชีเดียวกัน (อ้างอิง: มูลนิธิเกษมน่าน)


9. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท

ธนาคารกรุงเทพเลขที่บัญชี 133-0-94012-1

หมายเหตุ : สำหรับผู้ที่บริจาคตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป สามารถขอรับใบเสร็จ เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้โดยพร้อมส่งหลักฐานการบริจาค , ชื่อ – นามสกุล และอีเมล มาที่ E-mail: sirirat.ton@cpf.co.th

flood3


*ระวังมิจฉาชีพแฝงตัวอ้างหลอกให้บริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ทางองค์กรต่างๆ จะไม่มีการโทรเข้าไปเพื่อขอรับบริจาครายบุคคล หรืออย่าหลงเชื่อเลขบัญชีที่โพสไว้ลอยๆ ตามเว็บไซต์หรือเฟซบุ๊คที่ไม่ใช่บัญชีหลักขององค์กรนั้นๆ เพื่อความแน่ใจควรติดต่อองค์กรที่อยากบริจาคโดยตรงหรือตามเลขบัญชีที่ได้มีการอ้างอิงไว้ตามหน้าเว็บข่าวที่เป็นทางการ 


ByteHR ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบภัยพี่น้องชาวไทยทุกคน และขอให้สถานการณ์ดีขึ้นในเร็ววัน และขออนุโมทนาบุญทุกท่านที่สละทรัพย์ส่วนตัวเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย บริจาคกันแล้วอย่าลืมนำใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีกันนะ

ติดตามบทความดี ๆ เกี่ยวกับเงินเดือน ภาษี และเรื่องต้องรู้ในแวดวงทรัพยากรบุคคลได้ที่นี่ เพียงติดตามบทความจาก ByteHR หรือหากคุณต้องการเริ่มต้นใช้โปรแกรมสำหรับ HR แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มอย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ ลองปรึกษา ByteHR ได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com


ByteHR มีโปรแกรมสำหรับ HR ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นโปรแกรม HR On Cloud ที่มีฟังก์ชั่นจัดการข้อมูลพนักงาน การคำนวณเงินเดือน การจัดการกะพนักงาน และบันทึกเวลาเข้าออกพนักงาน ฯลฯ ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับใช้ให้เข้ากับการทำงานขององค์กรได้อย่างหลากหลาย


Khun Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด